วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 1 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหา

การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหา 


การใช้คอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา

           เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การประมวลผล การจัดเก็บ การจัดการหรือการกระทำกับข้อมูลข่าวสาร โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ ในการปฎิบัติงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้เกิดความรู้ความเข้าใจร่วมกัน



การใช้คอมแก้ปัญหา

        โดยหลักการแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษาอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
การบริหารการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาจำนวนมาก หรือมีวิชาจำนวนมากที่เปิดให้นักศึกษาเลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดเตรียมงบประมาณ จัดเตรียมห้องเรียนได้ตามความต้องการ จัดครูหรืออาจารย์ผู้สอนได้ตามความถนัดของผู้สอน และมีชั่วโมงการสอนพอเหมาะทุกคน รวมทั้งการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในแต่ละสาขาวิชาเพื่อที่จะได้ทราบว่าในปีต่อๆ ไป ถ้าเราจะผลิตนักศึกษาเหล่านั้นจะต้องลงทุนอีกเท่าใด และถ้าเพิ่มจำนวนนักศึกษาขึ้นอีกจะมีผลทำให้ต้องเพิ่มบุคลากร อาคาร ห้องเรียนและงบประมาณเป็นเท่าใด นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาได้ว่า วิชาการประเภทใดบ้างที่นักศึกษาไม่ค่อยนิยมเรียนอาจจะต้องหาทางชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจ หรือพิจารณาปิดวิชาเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการบริหารการศึกษานั้น จะแบ่งข้อมูลออกเป็น ๕ ด้านคือ ด้านนักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์
ข้อมูลด้านนักศึกษา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของนักศึกษาว่า เกิดเมื่อใด ที่ไหน ชื่อบิดามารดาอาชีพบิดามารดา เคยเรียนมาจากที่ไหนบ้าง เป็นต้นอีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการศึกษาในระหว่างศึกษาอยู่ ณ สถาบันนั้นๆ ว่าเคยลงทะเบียนเรียนวิชาอะไร ผลการศึกษาเป็นอย่างไรในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าวครบถ้วน ส่วนใหญ่เขาจะนิยมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานลงทะเบียน
ข้อมูลด้านแผนการเรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอนว่าแต่ละวิชามีรหัสชื่อวิชา หน่วยกิต เวลาเรียนและสอนที่ไหน และวิธีการสอนเป็นบรรยายหรือปฏิบัติการเป็นต้น
ข้อมูลด้านบุคลากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับครูผู้สอนว่ามีวุฒิอะไร มาจากที่ไหน เพศหญิงหรือเพศชาย สอนวิชาอะไรบ้าง กำลังทำวิจัยหรือเขียนตำราเรื่องอะไร และเงินเดือนเท่าใด เป็นต้น
ข้อมูลด้านการเงิน เป็นข้อมูลที่สถานการศึกษานั้นได้รับเงินจากอะไรบ้าง ได้ใช้เงินเหล่านั้นแต่ละเดือนเท่าไรใช้ซื้ออะไรบ้าง และยังเหลือเงินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด เป็นต้น

24 ความคิดเห็น:

  1. น.ส ฎาริน เสือสาท ปวช3/2

    ตอบลบ
  2. นายกฤชณรงค์ คันทะพรัทย์ ปวช3/2

    ตอบลบ
  3. น.ส ณัฐธิดา ภักดีสุข ปวช.3/2

    ตอบลบ
  4. น.ส ดารารัตน์ ทองพราว ปวช3/2

    ตอบลบ
  5. น.ส.พรหมพร​ เทพบัวลีปวช3/2

    ตอบลบ
  6. นาย ชนาธิป ลักษณะโภคิน ปวช 3/2

    ตอบลบ
  7. นาย​ ณรงค์ฤทธิ์​ เมืองเเสน​ ปวช​ 3/2

    ตอบลบ
  8. น.ส.ชลธิชา คล้ายเงิน ปวช.3/2

    ตอบลบ
  9. นายกฤษณพล​ ทัศนสิกขา

    ตอบลบ
  10. นายปฐมพร​ เดชภูมี

    ตอบลบ
  11. นายชิณวัตร กันมิณทร์ ปวช3/2

    ตอบลบ
  12. นาย ณัฐวุฒิ มงคล ปวช3/2

    ตอบลบ

บทที่ 3 การเขียนผังงาน Flowchart สัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงาน Symbol for Flowchart

สัญลักษณ์สำหรับการเขียนผังงาน  Symbol for Flowchart   ผังงาน ( Flowchart)             ผังงาน (Flowchart) คือ การเขียนอธิบายขั้นตอนวิธีก...